Work : แม้สมดุลระหว่างงานและการใช้ชีวิต (Work-Life Balance) สำคัญขึ้นมากในโลกการทำงานยุคปัจจุบัน ถึงขนาดที่ว่า Gen Z อายุระหว่าง 12-27 ปีคนรุ่นใหม่สุดในตลาดแรงงาน ใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาหลัก ๆ ในการยื่นใบสมัครงาน

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า งานก็ยังสำคัญต่อชีวิต เนื่องจากเป็นทั้งแหล่งรายได้ และเวทีให้ได้แสดงความภาคภูมิใจกับตัวเอง 

อย่างไรก็ตาม ความเบื่อหน่าย มีเรื่องอื่นในชีวิตให้ต้องกังวล แม้กระทั่งความท้อถอยหมดกำลังใจ และหันเหไปสนใจอยู่กับสิ่งอื่น

เพราะทำงานที่บ้านสลับกับเข้าบริษัทตามเทรนด์การทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid First) ในปัจจุบัน

ก็อาจฉุดให้สมาธิจดจ่อกับงานลดลงไป เหมือนกล้องที่หลุดโฟกัสจนภาพเบลอ หรือรถที่ลื่นไถลออกไปจากถนน

ในเมื่อนี่คือปัญหาคลาสสิกที่อยู่คู่โลกการทำงานมาทุกยุคสมัย จึงมีการคิดค้นทางแก้ไขออกมาเสมอ โดยหนึ่งในนั้นคือ 4 ขั้นตอนต่อไปนี้

ที่เรียกตามอักษรย่อภาษาอังกฤษว่า SKID ซึ่งยังเป็นการอธิบายปัญหานี้ได้เป็นอย่างดี เพราะหมายถึงการลื่นไถลออกไปจากเป้าหมายนั่นเอง

ซื่อสัตย์กับตัวเอง: ขั้นตอนแรกสุดในการแก้ปัญหาส่วนใหญ่คือยอมรับว่าเกิดปัญหาขึ้น แนวทางดังกล่าวใช้ได้กับเรื่องการหลุดโฟกัสเช่นกัน โดยสัญญาณเตือนบอกให้รู้ว่าคุณเริ่มไม่ไหวแล้ว

และควรประเมินตัวเอง หรือ Self assess อันเป็นอักษรย่อตัวแรกของขั้นตอนการจัดการปัญหา คือ เพื่อนในบริษัทไม่อยากทำงานด้วยหรือตีตัวออกห่าง

หัวหน้าเรียกไปตักเตือน คะแนนประเมินประสิทธิภาพการทำงานลดลง และถูกรุ่นน้องแซงหน้าไป

เร่งจัดการนิสัยเสีย: หลังยอมรับความจริงแล้ว ขั้นตอนต่อมาในการแก้ไขปัญหาหลุดโฟกัสที่ฉุดให้คะแนน KPI ของคุณลดลง คือ เร่งจัดการนิสัยเสียต่าง ๆ ด้วยตัวเองให้มากที่สุด หรือ Keep yourself  in power

เช่น ถ้าใจลอยก็ต้องเรียกสติให้กลับมา เลิกโทษสถานการณ์และเพื่อนร่วมงาน ส่วนถ้ายังมองไม่ออกจริง ๆ ก็ให้ไปถามเพื่อนร่วมงานหรือคนในบริษัทที่กล้าพูดตรง ๆ กับคุณ เพื่อสะท้อนความจริงและจะได้แก้ไขให้ถูกจุด 

ฟื้นความเชื่อมั่นให้กลับมา: อีกขั้นตอนที่ต้องทำเพื่อจัดการปัญหาหลุดโฟกัส คือ เรียกคืนความเชื่อมั่น หรือ Increase your equity ของเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างานให้กลับมา เพราะตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่า

การหลุดโฟกัสทำให้คนในบริษัทตีตัวออกจากคุณไปพักใหญ่ และไม่มีใครจะแก้ไขปัญหานี้ได้ดีไปกว่าตัวคุณเอง เชื่อเถอะว่าทุกคนพร้อมให้โอกาสกับคนที่ยอมรับผิดและอยากพิสูจน์ตัวเอง   

เดินหน้าสร้างผลงาน: ขั้นตอนสุดท้าย ในการขจัดปัญหาหลุดโฟกัสให้หมดไป คือ เดินหน้าสร้างผลงานอย่างต่อเนื่องหรือ Deliver performance แบบไม่ย่อท้อ และต้องเตือนตัวเองไว้ว่า

ความเชื่อมั่นที่เสียไป ประสิทธิภาพงานที่ถดถอย และความเสียหายที่คุณได้ก่อไว้ ต้องใช้เวลาพักใหญ่ในการเรียกให้กลับมาอยู่ในระดับเดิมหรือดีกว่าเดิม ดังนั้น จึงไม่ควรท้อถอยและระวังอย่าให้พลาดหลุดโฟกัสอีกเด็ดขาด/fastcompany



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online